วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

เฟืองเต็ด เคยได้ยินผ่านๆ มันคืออะไร?? มาดูกัน

เฟืองท้าย LSD (Limited Slip Differrential) --- เฟือง"เต็ด"!!
หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่อเฟืองท้ายตัวนี้กันมาเนิ่นนาน มาดูกันว่า การทำงานของมันเป็นยังไง

หน้าที่ของเฟืองท้ายเต็ด
ปกติถ้าขับรถไปในทางที่ลื่นมากๆ เช่น โคลนหรือติดหล่ม จะสังเกตุได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถ-
ขับเคลื่อนรถต่อไปได้ คือการหมุนล้อฟรีของล้อข้างหนึ่งที่ลอยอยู่ในอากาศหรือในหล่ม ขณะที่...
ล้อที่อยู่บนพื้นไม่มีกำลังที่จะพาตัวรถขับเคลื่อนไปได้ เพราะการทำงานของรถที่มีเฟืองท้ายธรรมดา
จะมีการแบ่งถ่ายกำลังด้วยชุดเฟืองดอกจอก ระหว่างเพลาขับด้านซ้ายและขวากับตัวเรือนเฟืองบายศรี
เพื่อทดรอบการหมุนล้อทั้ง 2 ข้าง สำหรับการเลี้ยว ซึ่งล้อจะหมุนไม่เท่ากัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
กับยางและชุดเพลาขับ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวกับรถประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อโดยเฉพาะ
ออฟโรด ที่ต้องปีนป่ายทางที่ผิวลื่นเป็นประจำจึงมีการออกแบบ เฟืองท้ายเต็ด (Limited Slip) โดยใช้-
เทคนิคในการจำกัดไม่ให้เกิดการสูญเสียกำลังขับของล้อเมื่อเกิดการลื่น หรือล้อหมุนฟรี ด้วยการใช้-
ความฝืดของแผ่นครัทซ์ หรือแรงกดจากการกดของสปริงและแรงหน่วงจากการทดเฟือง
แล้วแต่ว่าจะออกแบบมาแบบไหนมาเป็นตัวช่วยป้องกันการสูญเสียการขับเคลื่อน

หลักการทำงานของเฟืองเต็ด
เมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรี กำลังขับเคลื่อนจะถูกส่งจากล้อที่หมุนเร็วกว่าไปยังล้อที่หมุนช้ากว่า
ทำให้ล้อที่หมุนฟรีอยู่ ลดกำลังขับเคลื่อนลง ขณะที่ล้ออีกข้างหนึ่งจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า
ทำให้สามารถพารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดยเทคนิคการออกแบบกลไกนี้จะมีการออกแบบมา-
หลายลักษณะ แต่โดยรวมจะให้มีการส่งกำลังขับมายังล้อที่อยู่ตรงข้ามกับล้อที่หมุนฟรี วิธีที่ใช้
และใช้มากกว่าวิธีอื่นคือ ใช้ความฝืดของแผ่นครัทซ์เปียก ซ้อนกันหลายแผ่นเป็นตัวควบคุม
กำลังขับเคลื่อนไปยังล้อทั้งคู่ โดยออกแบบกลไกภายในชุดตัวเรือนเฟืองดอกจอก
ให้มีชุดครัทซ์เป็นตัวส่งกำลังร่วมอยู่ที่ด้านหลัง เฟืองดอกจอกตัวใหญ่ หรือเฟืองหัวเพลาขับทั้ง2ข้าง
แทนที่จะส่งกันโดยตรงเพียงอย่างเดียว ในเฟืองท้ายปกติทั่วไป และมีกลไกที่ทำให้ครัทซ์จับตัว เช่น
ใช้สปริงกดเมื่อมีการลื่นไถลของล้อข้างใดข้างหนึ่งทำให้เกิดการส่งกำลังขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้งคู่
บางรุ่นก็ใช้แรงบิดจากระบบส่งกำลังมาทำให้ครัทซ์จำตัว หรือแบบสปริงกดกระทำกับเฟืองแบบจาน-
ประกบกันและสวมหัวเพลาขับ เมื่อมีการเลี้ยว หรือล้อทั้ง2ข้างหมุนไม่เท่ากัน เฟืองที่ประกบกันอยู่
ก็จะแยกออกจากกัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังจากการที่ร่องฟันเฟืองหมุนเสียดสีกัน ซึ่งแบบนี้
มีใช้มานานแล้วในรถบางประเภท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น