มาต่อกับขั้นตอนการชำแหละเจ้า GT-R ต่อจากบทความที่แล้วกัน
เริ่มจาก
ภายนอก
ได้รับการตกแต่งด้วยชุดแต่ง wide-body ของ nismo รอบคันโดย วัสดุทุกชิ้น ทำมาจาก carbon fiber
ไม่ว่าจะเป็นฝากระโปรงหน้าที่มีช่องระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ กันชนหน้า โป่งล้อหน้าแบบ
over fender, side skirt และกันชนหลัง
อย่างไรก็ดี rear diffuser จะถูกถอดออกไป เพราะแผ่น diffuser มันดันไปติดระบบ
oil cooler ที่อยู่ใต้ท้องรถด้านหลัง ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงนั้น ได้แก่
ไฟเลี้ยวในกันชนหน้า ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นแบบรมดำ ไฟท้ายทรงโดนัทเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนไปใช้
หลอกไฟแบบ LED ตามสมัยนิยม แปะ Sticker คำว่า Z2 ไว้ที่มุมด้านล่างขวา และก็จับสาดสี
ใหม่ทั้งคันเป็น Nismo Silver
เมื่อตัวรถได้รับการตกแต่งใหม่ จนหล่อเฟี้ยวแล้ว ไอ้ครั้นจะใช้ล้อเดิม มันก็จะอายเขาเปล่าๆ
ทาง Nismo ก็เลยหันไปเอาล้อของตัวเอง รหัส LM GT4 "GT500" ขนาด 18" ซึ่งเป็นล้อที่พัฒนา
ร่วมกับ Rays มาใส่แทน ประกบกับยาง Bridgestone รุ่น Potenza RE55S ซึ่งเป็นยางแบบ Semi Slick
ขนาดยาง 265/35 R18 จึงออกมาหล่อเหลาอย่างที่เห็น
ภายใน ก็ได้รับการตกแต่งใหม่ไปด้วยเช่นกัน สงสัยจะกลัวว่าคนนั่งจะไม่รู้ว่ามันเป็นรุ่นพิเศษ
โดยการนำเอาเบาะเดิม ไปหุ้มหนังดำแดง เดินด้ายแดง ทั้งเบาะด้านหน้าและหลัง ส่วน
พวงมาลัยเดิมของ GT-R R34 ที่มันสวยอยู่แล้วนั้น คาดว่าทาง Nismo คงเห็นว่าสวยเกินไป - -"
เลยไปเอาพวงมาลัย Nissan รุ่นไหนก็ไม่รู้ มาใช้แทน นำไปหุ้มหนังกลับดำแดง บนพวงมาลัย
เพื่อให้เข้ากันกับเบาะ จอ MFD ได้รับการ upgrade ในส่วนของโปรแกรม โดยไปใช้ของ Nismo
ที่สามารถวัดค่าอะไรหลายๆอย่างได้มากขึ้น แล้วก็เปลี่ยนหน้าปัดวัดความเร็ว ไปใช้แบบที่มี
scale ถึง 320 km/h แบบพื้นขาวแทน
และในส่วนของ เครื่องยนต์ แน่นอนว่าต้องเป็น RB26 DET โดยจะเอามาทำใหม่หมดทั้งตัว
จนกลายเป็น "Z2" เริ่มจากการนำไปขยายความจุด้วยชุด kit ของ Nismo จากความจุเดิมๆ เป็น
2,771 cc เปลี่ยนลูกสูบ แหวน วาล์ว สปริง ก้านสูบ และข้อเหวี่ยง ไปใช้รุ่นที่มันทนทานขึ้น
เปลี่ยน camshaft ไปใช้แบบที่มันมี องศาสูงขึ้นทั้งฝั่ง ไอดีและไอเสีย ฝาสูบ นำไปปรับแต่งใหม่ทั้งหมด
ขัดพอร์ตให้อากาศมัน flow ได้ดีขึ้น แต่งบ่าวาล์วใหม่ เปลี่ยนหัวฉีดใหม่ เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้น
ฝาครอบวาล์วนำไปพ่นเม็ดทรายสีดำด้าน พร้อมทั้ง แปะป้าย "Z2" เพื่อบอกถึงความไม่ธรรมดาของมัน..
ยังไม่หมดแค่นั้น จากนั้นก็เปลี่ยนปั๊มน้ำมันเครื่อง เพื่อให้สามารถใช้งานในรอบสูงๆ ได้อย่างไม่ต้องกลัว
ปรับปรุงระบบท่อไอดี และ intake ใหม่ทั้งหมด กล่องกรองอากาศถูกออกแบบใหม่ เพื่อให้ดักอากาศ
ได้มากขึ้น หลังจากนั้นก็เปลี่ยน turbo ใหม่ ไปใช้ของ Nismo เอง แต่ยังคงเป็น twin turbo เหมือนเดิม
เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบ street use!!! (ใส่ขนาดนี้ ยังมีหน้ามานึกถึงเรื่อง street use นะ - -")
เมื่อเปลี่ยน turbo ใหม่ ระบบระบายไอเสีย ก็ต้องถูกเปลี่ยนใหม่เช่นกัน โดยตั้งแต่ header ไล่ไปจนถึง
ท่อไอเสียท้ายรถนั้น ถูกเปลี่ยนไปใช้ของ Nismo เอง เพื่อให้อากาศมันระบายออกได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ท่อไอเสียตั้งแต่หลัง cat ไปนั้น เป็น titanium ทั้งเส้น ซึ่งน้ำหนักเบากว่าท่อเดิมๆ อยู่หลายกิโล
cooling system ก็ถูกปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น oil cooler หรือ intercooler
ต่างก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับกับความแรงที่เพิ่มมากขึ้น
และผลที่ได้จากการปรับปรุงครั้งนี้คือ แรงม้ารวมทั้งหมด 500 bhp @ 6800 rpm กับแรงบิด
540 Nm @ 5200 rpm ถึงตอนนี้ ใครๆหลายคนอาจรู้สึกว่า มันน่าจะแรงกว่านี้รึเปล่า??
คำตอบคือ ใช่ครับ มันน่าจะแรงกว่านี้ ถ้าเทียบกับรถแต่งระดับนี้ 500 แรงม้านั้น
อาจจะดูไม่มากนัก เมื่อเทียบกับของที่ใส่ลงไป โดยถ้าเทียบกับเจ้า "Z1" แล้ว
"Z2" ก็มีแรงม้าน้อยกว่าอยู่ร่วมๆ ร้อยตัวเลยทีเดียว แต่!! ...
อย่าลืมว่า ความเหนียวและความทนนี่ไม่ต้องห่วง เพราะถึงขนาดนี้ ผ่านรายการ Endurance มาได้แล้ว
แสดงว่าไม่ธรรมดาแน่นอน อึด ถึก ทนมือทนเท้า เล่นได้ไม่มียั้ง
มาต่อกันที่ระบบส่งกำลังกันบ้าง ซึ่งก็ได้รับการปรับปรุงใหม่หมดเช่นกัน เพื่อให้แรงม้าทั้งหมด
ลงสู่พื้นได้เต็มๆ.. clutch ถูกเปลี่ยนไปใช้แบบ twin plate ทองแดงผสมของ Nismo แน่นอนว่า flywheel ก็ด้วยเช่นกัน เกียร์และเฟืองท้ายก็ได้รับการ set ใหม่หมด นอกจากนี้ เพลากลางก็ถูกเปลี่ยนใหม่เป็นแบบที่ทำจาก carbon-kevlar เพื่อความเบาและทนทาน
เมื่อความแรงมากขึ้น ช่วงล่างและระบบเบรกก็ต้องได้รับกาปรับปรุงให้เหมาะสมกับความแรงที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน โดย Nismo ได้ร่วมมือกับ SACHS บริษัทที่ผลิตโช้คอัพให้กับทีม F1 อย่าง Ferrari โดยโช้คอัพตัวนี้ สามารถปรับค่าของโช้คอัพได้ 3 ทิศทาง และยังสามารถปรับความสูงต่ำของรถได้อีกด้วย ซึ่งโช้คอัพตัวนี้ได้ผ่านการพิสูจน์ตัวเองมาแล้วจากรายการ GT500 ว่าสามารถสร้างความสนิทสนมกับพื้นโลกได้เป็นเป็นอย่างดี
ระบบเบรกนั้นไม่ต้องคิดมากให้เมื่อยสมอง เพราะผูกขาดอยู่เจ้าเดียวเหมือนรัฐบาลบางประเทศ
กับผู้ผลิตนามว่า Brembo โดยงานนี้ทาง Nismo และ Brembo ได้ตกลงร่วมมือกันว่าจะผลิตเบรกที่สามารถสร้างแรง G ได้มากถึง 1.6 G เมื่อรถคันนี้ใส่ยาง slick และเหยียบเบรกจนสุด โดย
caliper brake ด้านหน้าเป็นแบบ mono block 6 pistons พร้อมจานเบรกที่พัฒนามาร่วมกับ KIRYU
แบบสองชิ้นขนาด 365 มม. ใหญ่สะใจวัยรุ่น ส่วนด้านหลังนั้นเป็นจานเบรกเป็นแบบชึ้นเดียวขนาดใหญ่ไม่น้อยหน้าที่ 355 มม.
สุดท้าย ระบบ ABS ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่หมดเพื่อให้เหมาะสมกับเบรกใหม่ และความแรงที่เพิ่มขึ้น และนั่นก็รวมไปถึงการ tuned ระบบขับเคลื่อนอัจฉริยะ ATTESA ET-S Pro และ Active LSD ใหม่ด้วย เพื่อให้ระบบทุกระบบทำงานได้สอดคล้องกัน และสามารถถ่ายทอดแรงม้ากับแรงบิดที่เพิ่มมากขึ้นไปสู่ล้อได้อย่างพอดี เพื่อการความคุมที่สมบูรณ์แบบที่สุด
Nissan Nismo Skyline GT-R Z-tune (Z2) นั้นจะถูกผลิตออกมาทั้งหมด 20 คันเท่านั้นครับ และได้เปิดให้จองกันไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ด้วยราคาแถวๆ 170,000 $ ไม่รวมภาษีนำเข้าของแต่ละประเทศ แถม Factory Warranty มาให้อีก 1 ปี 10,000 km. ราคาระดับนี้ เข้าบ้านเราต้องมีสักเกือบๆ 20 ล้านบาท และในบ้านเรา โอกาสเห็นตัวเป็นๆ ก็คงหมดสิทธ์ตามฟอร์ม เพราะว่าแย่งกันจองหมดไปตั้งนานแล้วว...
สรุปรายการแต่งทั้งหมด :
Engine: RB26DETT Z2, bored up to 2.8L
Power: over 500 HP
Torque: over 400 lb-ft
Tires: Bridgestone Potenza RE55S
Wheels: VolkRacing Nismo GT4 GT500 Edition
Clutch: Super Coppermix Twin
Suspension: Sachs 3-way coilover
Brakes: Brembo 6P brakes
Carbon Fiber widebody
Carbon Fiber propeller shafts
Active LSD
Titanium Exhaust
IHI turbine
Nismo 320km/h white gauges
Multi Function Display, data logger, and whole bunch of internal engine mods, suspension mods, interior mods, etc...
1 year 10,000 kms factory warranty.
•cHilL-OuT•
วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553
GT-R R34 "Z-Tune" สุดทุกชิ้น เนียนทุกจุด...
Nissan Nismo Skyline GT-R Z-tune (Z2)
Yes, I would call it *THE* Godzilla
Nismo Z-Tune นั้น เคยออกมาครั้งหนึ่งแล้วตอนปี 2000 ซึ่งตอนนั้นใช้รหัสว่า Z1 ในฐานะรถต้นแบบ
โดยได้มีการเปิดตัวในงาน Nismo Festival ในครั้งนั้น เจ้า Z1 ได้ลงทำการแข่งขันในรายการ
Tuners' Battle และคว้าชัยชนะมาได้ด้วยแรงม้าระดับ 600bhp ...
และเจ้า Z1 นั่นแหละที่เป็นคันต้นแบบ ซึ่งจะเน้นไปที่การแข่งขัน เรียกได้ว่า แทบจะไม่มีอุปกรณ์
อำนวยความสะดวกอะไรเลย... ในปีต่อมา ทางNismo ได้มีความคิดริเริ่มจะทำให้เจ้า Z1 มีความ
เป็นรถที่ใช้งานบนถนนได้ง่ายขึ้น โดยการปรับช่วงล่างให้นุ่มขึ้น ภายใน เบาะหุ้มด้วยหนัง
มีระบบปรับอากาศ ใส่ catalyst ลงไป นอกจากนี้ เครื่องยนต์ยังมีการเปลี่ยนรหัสใหม่จาก
Z1 เป็น Z2 และหลังจากนั้น Nismo ก็ได้เริ่มวิ่งทดสอบเครื่องยนต์และเก็บข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุง
ให้ Z2 มีความเหมาะสมกับการใช้งานทั่วไปมากขึ้น
การวิ่งทดสอบกับคันต้นแบบ ได้ดำเนินไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็แล้วเสร็จในปี 2003 หลังจากที่ได้ไปวิ่งอยู่
ในสนาม Nurburgring อยู่หลายเดือน และแล้วทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี... นอกจากนี้ทาง Nismo ยังได้
มีการนำเครื่อง Z2 ไปใช้ในรถแข่งเพื่อทำการแข่งขันรายการ Nurburgring 24 hours Endurance Race
และจากการแข่งขันมาราธอนท้าความอึดทั้งคนและเครื่องนี่แหละ ที่เป็นบทพิสูจน์ของเจ้า Z2
ผลที่ออกมาก็คือ รถคันที่ใส่เครื่อง Z2 ลงไปนั้นสามารถคว้าที่หนึ่งในรุ่นของมันเอง และคว้าที่ 5
Overall มาครองได้สำเร็จ ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า เครื่อง Z2 ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า
ตัวมันเอง มีประสิทธิภาพ มากแค่ไหน
เมื่อการทดสอบทุกอย่างเสร็จสิ้น ทาง Nismo จึงได้มีโครงการที่จะผลิต
GT-R Z-Tune (Z2) ออกมาขายในแบบ limited edition อย่างไรก็ดี ก็อย่างที่เราๆก็รู้กันอยู่ว่า
ทาง Nissan ได้เลิกผลิตเจ้า GT-R R-34 ตั้งแต่ปี2000 ทำให้ทาง Nismo จำเป็นต้องหา
GT-R R34 มือสองมา modify แทน แต่ทาง Nismo ก็มีข้อแม้ว่า รถที่จะมา modify นั้น
จะต้องเป็นรถที่ตัวถังไม่เคยได้รับความเสียหายมาก่อน ไม่ว่าจะเฉี่ยวชนแม้เพียงเล็กน้อยแค่ไหน
ก็ไม่เอาทั้งสิ้น นอกจากนี้ รถยังต้องวิ่งมาไม่เกิน 18,000km เท่านั้น มากกว่านี้ก็ไม่เอาเหมือนกัน...
เมื่อ ได้รถมาแล้วทาง Nismo ก็จับมาชำแหละใหม่หมดทั้งคัน (แล้วจะเอารถไม่มีตำหนิมาเพื่อ!! - -")
บทความต่อไป เราก็จะมาดูขั้นตอนการชำแหละเจ้า ก๊อตซิล่ากัน
credit : motortoday.com
Yes, I would call it *THE* Godzilla
Nismo Z-Tune นั้น เคยออกมาครั้งหนึ่งแล้วตอนปี 2000 ซึ่งตอนนั้นใช้รหัสว่า Z1 ในฐานะรถต้นแบบ
โดยได้มีการเปิดตัวในงาน Nismo Festival ในครั้งนั้น เจ้า Z1 ได้ลงทำการแข่งขันในรายการ
Tuners' Battle และคว้าชัยชนะมาได้ด้วยแรงม้าระดับ 600bhp ...
และเจ้า Z1 นั่นแหละที่เป็นคันต้นแบบ ซึ่งจะเน้นไปที่การแข่งขัน เรียกได้ว่า แทบจะไม่มีอุปกรณ์
อำนวยความสะดวกอะไรเลย... ในปีต่อมา ทางNismo ได้มีความคิดริเริ่มจะทำให้เจ้า Z1 มีความ
เป็นรถที่ใช้งานบนถนนได้ง่ายขึ้น โดยการปรับช่วงล่างให้นุ่มขึ้น ภายใน เบาะหุ้มด้วยหนัง
มีระบบปรับอากาศ ใส่ catalyst ลงไป นอกจากนี้ เครื่องยนต์ยังมีการเปลี่ยนรหัสใหม่จาก
Z1 เป็น Z2 และหลังจากนั้น Nismo ก็ได้เริ่มวิ่งทดสอบเครื่องยนต์และเก็บข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุง
ให้ Z2 มีความเหมาะสมกับการใช้งานทั่วไปมากขึ้น
การวิ่งทดสอบกับคันต้นแบบ ได้ดำเนินไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็แล้วเสร็จในปี 2003 หลังจากที่ได้ไปวิ่งอยู่
ในสนาม Nurburgring อยู่หลายเดือน และแล้วทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี... นอกจากนี้ทาง Nismo ยังได้
มีการนำเครื่อง Z2 ไปใช้ในรถแข่งเพื่อทำการแข่งขันรายการ Nurburgring 24 hours Endurance Race
และจากการแข่งขันมาราธอนท้าความอึดทั้งคนและเครื่องนี่แหละ ที่เป็นบทพิสูจน์ของเจ้า Z2
ผลที่ออกมาก็คือ รถคันที่ใส่เครื่อง Z2 ลงไปนั้นสามารถคว้าที่หนึ่งในรุ่นของมันเอง และคว้าที่ 5
Overall มาครองได้สำเร็จ ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า เครื่อง Z2 ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า
ตัวมันเอง มีประสิทธิภาพ มากแค่ไหน
เมื่อการทดสอบทุกอย่างเสร็จสิ้น ทาง Nismo จึงได้มีโครงการที่จะผลิต
GT-R Z-Tune (Z2) ออกมาขายในแบบ limited edition อย่างไรก็ดี ก็อย่างที่เราๆก็รู้กันอยู่ว่า
ทาง Nissan ได้เลิกผลิตเจ้า GT-R R-34 ตั้งแต่ปี2000 ทำให้ทาง Nismo จำเป็นต้องหา
GT-R R34 มือสองมา modify แทน แต่ทาง Nismo ก็มีข้อแม้ว่า รถที่จะมา modify นั้น
จะต้องเป็นรถที่ตัวถังไม่เคยได้รับความเสียหายมาก่อน ไม่ว่าจะเฉี่ยวชนแม้เพียงเล็กน้อยแค่ไหน
ก็ไม่เอาทั้งสิ้น นอกจากนี้ รถยังต้องวิ่งมาไม่เกิน 18,000km เท่านั้น มากกว่านี้ก็ไม่เอาเหมือนกัน...
เมื่อ ได้รถมาแล้วทาง Nismo ก็จับมาชำแหละใหม่หมดทั้งคัน (แล้วจะเอารถไม่มีตำหนิมาเพื่อ!! - -")
บทความต่อไป เราก็จะมาดูขั้นตอนการชำแหละเจ้า ก๊อตซิล่ากัน
credit : motortoday.com
วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
Nissan skyline GTR-R34
รวมๆรูปมาให้ชมกัน
รถในฝันเลยฮ๊าฟฟฟฟ >.<
รถในฝันเลยฮ๊าฟฟฟฟ >.<
Z-Tune เยสสสสส
เอ่อออ.... รถนะครับรถ
ย้ำว่ารถนะฮะ รถถถถถถ (กัดฟัน+หายใจแรง)
วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553
กฏหมายการจับกุมรถแต่ง...
การจับกุมรถแต่งโดยคร่าวๆ นะคร้าบ ^__^
1. ท่อใหญ่ ที่เสียงดัง ไม่เกิน 90 db ถ้าจะจับต้องมีเครื่องวัด จะใช้หูวัดเอาไม่ได้!!
2. สปอยเลอร์ ชุดแต่งไฟเบอร์ ... ไม่ผิด แต่ต้องแข็งแรงและปลอดภัย
3. รถโหลดเตี้ย วัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 cm. (ต่ำกว่าผิด)
4. รถยกสูงต้องไม่เกินกว่า 175 cm.
5. เกจ์ และมาตรวัดต่างๆ ติดได้ ... ไม่ผิด
6. การแข่งขันรถบนถนนหลวง ผิดกฏหมาย ยึดรถ!! ส่งฟ้องศาลทันที
7. เปิดไฟโคมเหลืองในขณะที่ไม่มีฝนตก หรือหมอกควัน ... อาจโดนเตือน
8. ควันขาว และควันดำ ... ผิด เพราะก่อให้เกิดมลพิษ
9. การตัดต่อ ทำป่้ายทะเบียนยาว ... ผิด โทษฐานปลอมแปลง
10. ขับรถขณะมึนเมา ... ผิดกฏหมาย จับได้ส่งฟ้องศาล
**** ถ้าท่านถูกจับ ให้จดชื่อ สถานที่จับกุม (สน.) รหัสข้างหมวกเจ้าหน้าที่
ยศ - ชื่อ - นามสกุล เวลาที่จับกุม แล้วแจ้งไปที่ ศูนย์สั่งการจราจร 1197
credit : http://www.siamspeed.com/
1. ท่อใหญ่ ที่เสียงดัง ไม่เกิน 90 db ถ้าจะจับต้องมีเครื่องวัด จะใช้หูวัดเอาไม่ได้!!
2. สปอยเลอร์ ชุดแต่งไฟเบอร์ ... ไม่ผิด แต่ต้องแข็งแรงและปลอดภัย
3. รถโหลดเตี้ย วัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 cm. (ต่ำกว่าผิด)
4. รถยกสูงต้องไม่เกินกว่า 175 cm.
5. เกจ์ และมาตรวัดต่างๆ ติดได้ ... ไม่ผิด
6. การแข่งขันรถบนถนนหลวง ผิดกฏหมาย ยึดรถ!! ส่งฟ้องศาลทันที
7. เปิดไฟโคมเหลืองในขณะที่ไม่มีฝนตก หรือหมอกควัน ... อาจโดนเตือน
8. ควันขาว และควันดำ ... ผิด เพราะก่อให้เกิดมลพิษ
9. การตัดต่อ ทำป่้ายทะเบียนยาว ... ผิด โทษฐานปลอมแปลง
10. ขับรถขณะมึนเมา ... ผิดกฏหมาย จับได้ส่งฟ้องศาล
**** ถ้าท่านถูกจับ ให้จดชื่อ สถานที่จับกุม (สน.) รหัสข้างหมวกเจ้าหน้าที่
ยศ - ชื่อ - นามสกุล เวลาที่จับกุม แล้วแจ้งไปที่ ศูนย์สั่งการจราจร 1197
credit : http://www.siamspeed.com/
วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553
SUPERCHARGER VS TURBOCHARGER .. อะไรจะแน่กว่ากัน!!
ถ้าคิดถึงชื่อทั้ง2ชื่อนี้ก็คงนึกถึงการผลิตที่ใช้คอนเซปต์เดียวกันคือ
เป็นเครื่องอัดอากาศที่ใช้แรงขับจากเพลาข้อเหวี่ยง
เพื่อให้ได้แรงอัดอากาศจำนวนมากส่งเข้าไปในเครื่องยนต์
แต่ถึงแม้จะเป็นเครื่องอัดอากาศเหมือนกัน แต่ TURBOCHARGER
เป็นระบบที่เอาไอเสียมาขับให้เกิดพลังงานเพื่อไปหมุนใบเทอร์โบ
ดังนั้น ยิ่งรอบสูงขึ้นไปเท่าไหร่ กำลังก็จะเพิ่มขึ้นมากขึ้นเท่านั้น
เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการสร้างพลังงาน
ข้อดีของ TURBOCHARGER คือเน้นพละกำลังมากๆแต่เนื่องจาก
เวลาเหยียบคันเร่งแล้วกว่าบูสต์จะมา ต้องใช้เวลาพอสมควร จึงทำให้มีข้อด้อย
เรื่องการตอบสนอง นิยมเรียกว่า TURBO LAG หรือ TIME LAG
แต่ในส่วนของ SUPERCHARGER ที่มีระบบขับเคลื่อนมาจากข้อเหวี่ยงโดยตรง
เป็นเครื่องอัดอากาศแบบกลไก ดังนั้น กำลังของเครื่องยนต์ก็จะเสียไป
ในการขับเคลื่อน SUPERCHARGER แต่ จะมีอัตราบูสต์ที่มาเร็วกว่าระบบ TURBOCHARGER
ดังนั้นเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง SUPERCHARGER จะมีการตอบสนองที่ดีตั้งแต่รอบต่ำ
เพราะใน TURBOCHARGER ต้องใช้แรงไอเสียไปขับใบเทอร์โบให้หมุน ทำให้ที่ความเร็วรอบต่ำ
จะวิ่งไม่ค่อยดีนัก เพราะแรงดันไอเสียไม่สามารถไปปั่นใบเทอร์โบให้หมุนได้เต็มที่
ต่างกับ SUPERCHARGER ที่ไม่ต้องการแรงดันไอเสีย จึงทำให้ระบบ SUPERCHARGER นั้น
เหมาะสมกับรถยนต์ เกียร์ออโตเมติกมาก และยิ่งไปกว่านั้น เวลาติดตั้งกับเครื่อง N/A
เจ้า SUPERCHARGER นั้นไม่ต้องไปยุ่งกับระบบไอเสีย อีกทั้งยังมีโครงสร้างง่ายๆ
เวลาต่อทะเบียนก็ไร้ปัญหา ไม่ต้องทำเฮดเดอร์ไอเสียใหม่ ทำให้ประหยัดต้นทุนมาก
ดังนั้น เมื่อเทียบราคากับสมรรถนะที่สูงขึ้น ก็จะถือว่าเป็นระบบที่คุ้มค่า
ความแตกต่าง Lay Out ของระบบอัดอากาศทั้ง2ตัว
สำหรับเครื่อง N/A ที่ต้องการจะใส่เครื่องอัดอากาศเข้าไป ถ้าติดตั้ง TURBOCHARGER
ที่ใช้ไอเสียเป็นตัวขับ จำเป็นต้องออกแบบสร้าง Lay Out ของเฮดเดอร์เทอร์โบที่อยู่ระหว่าง
เทอร์โบกับฝาสูบ และ front pipe ใหม่ทั้งหมด รวมถึง การเปลี่ยนแปลงจุดยึด Catalytic converter
ในรถรุ่นใหม่ๆ Catalytic converter จะอยู่ติดกับท่อร่วมไอเสีย และถ้าทำการดัดแปลงก็จะมีผลต่อการ
ฟอกไอเสียของเครื่องยนต์ ทำให้ไม่ผ่านการตรวจสภาพรถเพื่อต่อทะเบียน ในรถรุ่นใหม่ๆ
มักใช้เครื่อง V ซึ่งถ้าจะติดตั้งเทอร์โบก็ต้องลำบากในการจัดวางทุกสิ่งอย่างเข้าไปในห้องเครื่อง
เป็นเครื่องอัดอากาศที่ใช้แรงขับจากเพลาข้อเหวี่ยง
เพื่อให้ได้แรงอัดอากาศจำนวนมากส่งเข้าไปในเครื่องยนต์
แต่ถึงแม้จะเป็นเครื่องอัดอากาศเหมือนกัน แต่ TURBOCHARGER
เป็นระบบที่เอาไอเสียมาขับให้เกิดพลังงานเพื่อไปหมุนใบเทอร์โบ
ดังนั้น ยิ่งรอบสูงขึ้นไปเท่าไหร่ กำลังก็จะเพิ่มขึ้นมากขึ้นเท่านั้น
เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการสร้างพลังงาน
ข้อดีของ TURBOCHARGER คือเน้นพละกำลังมากๆแต่เนื่องจาก
เวลาเหยียบคันเร่งแล้วกว่าบูสต์จะมา ต้องใช้เวลาพอสมควร จึงทำให้มีข้อด้อย
เรื่องการตอบสนอง นิยมเรียกว่า TURBO LAG หรือ TIME LAG
แต่ในส่วนของ SUPERCHARGER ที่มีระบบขับเคลื่อนมาจากข้อเหวี่ยงโดยตรง
เป็นเครื่องอัดอากาศแบบกลไก ดังนั้น กำลังของเครื่องยนต์ก็จะเสียไป
ในการขับเคลื่อน SUPERCHARGER แต่ จะมีอัตราบูสต์ที่มาเร็วกว่าระบบ TURBOCHARGER
ดังนั้นเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง SUPERCHARGER จะมีการตอบสนองที่ดีตั้งแต่รอบต่ำ
เพราะใน TURBOCHARGER ต้องใช้แรงไอเสียไปขับใบเทอร์โบให้หมุน ทำให้ที่ความเร็วรอบต่ำ
จะวิ่งไม่ค่อยดีนัก เพราะแรงดันไอเสียไม่สามารถไปปั่นใบเทอร์โบให้หมุนได้เต็มที่
ต่างกับ SUPERCHARGER ที่ไม่ต้องการแรงดันไอเสีย จึงทำให้ระบบ SUPERCHARGER นั้น
เหมาะสมกับรถยนต์ เกียร์ออโตเมติกมาก และยิ่งไปกว่านั้น เวลาติดตั้งกับเครื่อง N/A
เจ้า SUPERCHARGER นั้นไม่ต้องไปยุ่งกับระบบไอเสีย อีกทั้งยังมีโครงสร้างง่ายๆ
เวลาต่อทะเบียนก็ไร้ปัญหา ไม่ต้องทำเฮดเดอร์ไอเสียใหม่ ทำให้ประหยัดต้นทุนมาก
ดังนั้น เมื่อเทียบราคากับสมรรถนะที่สูงขึ้น ก็จะถือว่าเป็นระบบที่คุ้มค่า
ความแตกต่าง Lay Out ของระบบอัดอากาศทั้ง2ตัว
สำหรับเครื่อง N/A ที่ต้องการจะใส่เครื่องอัดอากาศเข้าไป ถ้าติดตั้ง TURBOCHARGER
ที่ใช้ไอเสียเป็นตัวขับ จำเป็นต้องออกแบบสร้าง Lay Out ของเฮดเดอร์เทอร์โบที่อยู่ระหว่าง
เทอร์โบกับฝาสูบ และ front pipe ใหม่ทั้งหมด รวมถึง การเปลี่ยนแปลงจุดยึด Catalytic converter
ในรถรุ่นใหม่ๆ Catalytic converter จะอยู่ติดกับท่อร่วมไอเสีย และถ้าทำการดัดแปลงก็จะมีผลต่อการ
ฟอกไอเสียของเครื่องยนต์ ทำให้ไม่ผ่านการตรวจสภาพรถเพื่อต่อทะเบียน ในรถรุ่นใหม่ๆ
มักใช้เครื่อง V ซึ่งถ้าจะติดตั้งเทอร์โบก็ต้องลำบากในการจัดวางทุกสิ่งอย่างเข้าไปในห้องเครื่อง
ไหนจะเจอพวกขับเคลื่อนล้อหน้า ท่อไอเสียอยู่ด้านหลัง การติดตั้งเทอร์โบ ยิ่งทำได้ยุ่งยากเข้าไปอีก
และด้วยความที่ท่อไอเสีย อยู่ใกล้ห้องโดยสาร ความร้อนของระบบไอเสียก็เข้ามาทำให้ชีวิตไม่เป็นสุข
แต่การที่เราติดตั้ง SUPERCHARGER ที่ใช้แรงขับจากเพลาข้อเหวี่ยง และไม่ต้องไปยุ่งวุ่นวาย
กับระบบไอเสีย สามารถช่วยลดปัญหาต่างๆ ของการติดตั้งเทอร์โบลงไป ได้อย่างดีเยี่ยม
แต่!!!
ชีวิตก็ไม่ได้ง่ายไปซะทุกอย่าง เพราะติดตั้ง SUPERCHARGER ก็มีหลากหลายขนาด
บางทีก็ติดฝากระโปรงกันบ้าง ก็ต้องว่ากันไปตามรถแต่ละรุ่นล่ะคร้าบบ
>>>>>ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจากนิตยสาร Option Thailand<<<<<
วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553
วิธีการเติมน้ำมัน (รู้ไว้ไม่เสียหลาย)
น้ำมันแพง ต้องฉลาดเติม...
* ไม่ทราบว่าเหล่าผู้ชาย เช่นคุณควักกระเป๋าจ่ายเงินค่าน้ำมันกันยังไง
* แต่ที่ California ผู้ใช้รถก็จ่ายไม่เบา จนมีผู้รู้สอนเคล็ดลับการเติมน้ำมัน
* เพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถจ่ายเงินอย่างคุ้มค่า
* ผู้รู้ซึ่งมีประสบการณ์ในวงการน้ำมันกว่า 31 ปี เล่าว่า
* เขาทำงานที่คลังน้ำมันแห่งหนึ่งใน San Jose , CA
* ซึ่งมีคลังเก็บ 34 คลัง ขนาดบรรจุรวม 16,800,000 แกลลอน
* ณ ที่นั่น แต่ละวันจ่ายน้ำมันประมาณ 4 ล้านแกลลอน ตลอด 24 ชม.
* โดยวันหนึ่งจ่ายน้ำมันดีเซล
* อีกวันหนึ่งจ่ายน้ำมันเครื่องบินและน้ำมันรถยนต์
* เกรดต่างๆ สลับกัน
* เขาบอกว่า
* ไม่ทราบว่าเหล่าผู้ชาย เช่นคุณควักกระเป๋าจ่ายเงินค่าน้ำมันกันยังไง
* แต่ที่ California ผู้ใช้รถก็จ่ายไม่เบา จนมีผู้รู้สอนเคล็ดลับการเติมน้ำมัน
* เพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถจ่ายเงินอย่างคุ้มค่า
* ผู้รู้ซึ่งมีประสบการณ์ในวงการน้ำมันกว่า 31 ปี เล่าว่า
* เขาทำงานที่คลังน้ำมันแห่งหนึ่งใน San Jose , CA
* ซึ่งมีคลังเก็บ 34 คลัง ขนาดบรรจุรวม 16,800,000 แกลลอน
* ณ ที่นั่น แต่ละวันจ่ายน้ำมันประมาณ 4 ล้านแกลลอน ตลอด 24 ชม.
* โดยวันหนึ่งจ่ายน้ำมันดีเซล
* อีกวันหนึ่งจ่ายน้ำมันเครื่องบินและน้ำมันรถยนต์
* เกรดต่างๆ สลับกัน
* เขาบอกว่า
* จงเติมน้ำมันตอนเช้าขณะที่อุณหภูมิบนพื้นดินยังเย็นอยู่
* อย่าลืมว่าปั๊มน้ำมันทุกแห่งมีถังน้ำมันฝังอยู่ใต้ดิน
* เมื่อพื้นดินยิ่งเย็น
* พื้นดินยิ่งควบแน่น และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
* น้ำมันก็จะขยายตัวตาม
* ดัีงนั้น หากเติมน้ำมันช่วงบ่ายหรือเย็น คุณจ่ายค่าน้ำมัน 1 แกลลอน
* แต่ได้มาไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
* ธุรกิจค้าน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือน้ำมันสำหรับเครื่องบิน
* เอทานอล หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ อุณหภูมิและความถ่วงจำเพาะ มีบทบาทสำคัญ
* อุณหภูมิเพิ่งขึ้นเพียง 1 องศา หมายถึง เงินมหาศาลในธุรกิจนี้
* แต่ปั๊มน้ำมันไม่มีการชดเชยอุณหภูมิให้ลูกค้่า
* ขณะเติมน้ำมัน อย่าให้เด็กปั๊ม ตั้งหัวฉีดอยู่ในตำแหน่งไหลเร็ว
* (ในอเมริกาเจ้าของรถต้องลงมือเติมเอง) หากคุณสังเกต จะเห็นว่า
* กลไกเหนี่ยวมี 3 ระดับ คือ low,middle,high
* เมื่อตั้งในระดับไหลช้า จะเกิดไอระเหยของน้ำมันน้อยที่สุด
* หากตั้งในระดับไหลเร็ว น้ำมันบางส่วนจะกลายเป็นไอระเหย
* และถูกสูบย้อนกลับไปยังถังใต้ดิน นั่นหมายถึงคุณจ่ายเงินมากกว่าที่ควร
* เคล็ดลับอีกอย่างคือ ควรเติมน้ำมันเมื่อน้ำมันในรถเหลือครึ่งถัง
* (แหล่งข้อมูลบางแห่งแนะนำว่า เติมน้ำมันแค่ครึ่งถังก็พอ จะได้ลดน้ำหนักบรรทุก
* ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้อ่านตัดสินเอาเองแล้วกัน)
* เหตุผลคือ น้ำมันบรรจุในถังยิ่งมาก เนื้อที่ว่างสำหรับไอระเหยก็ยิ่งน้อย
* เพราะน้ำมันระเหยเป็นไอเร็วกว่าที่คุณคาดคิด
* ในคลังเก็บน้ำมันจะมีอุปกรณ์ถายในถังทำหน้าที่เป็นเพดาน
* ลอยขึ้นลงตามระดับน้ำมัน ทำให้ไม่มีช่องว่างระหว่างน้ำมันกับอากาศ
* ลดไอระเหยของน้ำมันให้น้อยที่สุด รถขนส่งน้ำมันเมื่อมาบรรทุกน้ำมัน
* จึงเติมได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ผิดกับที่ปั๊มน้ำมัน ซึ่งไม่มีการชดเชยอุณหภูมิ
*** ข้อเตือนใจอีกข้อหนึ่ง
* ขณะที่คุณขับรถเข้าปั๊ม
* ถ้่าเห็นรถบรรทุกกำลังถ่ายน้ำมันเข้าสู่ถังเก็บใต้ดิน
* จงอย่ารีบร้อนเติมน้ำมันช่วงเวลานั้น เพราะตอน "ลงของ" สิ่งแปลกปลอม
* ซึ่งปกติจะตกตะกอนอยู่ใต้ถัง ถูกปั่นป่วนจนลอยตัว
* หากคุณเติมน้ำมันในช่วงเวลานั้น
เฟืองเต็ด เคยได้ยินผ่านๆ มันคืออะไร?? มาดูกัน
เฟืองท้าย LSD (Limited Slip Differrential) --- เฟือง"เต็ด"!!
หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่อเฟืองท้ายตัวนี้กันมาเนิ่นนาน มาดูกันว่า การทำงานของมันเป็นยังไง
หน้าที่ของเฟืองท้ายเต็ด
ปกติถ้าขับรถไปในทางที่ลื่นมากๆ เช่น โคลนหรือติดหล่ม จะสังเกตุได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถ-
ขับเคลื่อนรถต่อไปได้ คือการหมุนล้อฟรีของล้อข้างหนึ่งที่ลอยอยู่ในอากาศหรือในหล่ม ขณะที่...
ล้อที่อยู่บนพื้นไม่มีกำลังที่จะพาตัวรถขับเคลื่อนไปได้ เพราะการทำงานของรถที่มีเฟืองท้ายธรรมดา
จะมีการแบ่งถ่ายกำลังด้วยชุดเฟืองดอกจอก ระหว่างเพลาขับด้านซ้ายและขวากับตัวเรือนเฟืองบายศรี
เพื่อทดรอบการหมุนล้อทั้ง 2 ข้าง สำหรับการเลี้ยว ซึ่งล้อจะหมุนไม่เท่ากัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
กับยางและชุดเพลาขับ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวกับรถประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อโดยเฉพาะ
ออฟโรด ที่ต้องปีนป่ายทางที่ผิวลื่นเป็นประจำจึงมีการออกแบบ เฟืองท้ายเต็ด (Limited Slip) โดยใช้-
เทคนิคในการจำกัดไม่ให้เกิดการสูญเสียกำลังขับของล้อเมื่อเกิดการลื่น หรือล้อหมุนฟรี ด้วยการใช้-
ความฝืดของแผ่นครัทซ์ หรือแรงกดจากการกดของสปริงและแรงหน่วงจากการทดเฟือง
แล้วแต่ว่าจะออกแบบมาแบบไหนมาเป็นตัวช่วยป้องกันการสูญเสียการขับเคลื่อน
หลักการทำงานของเฟืองเต็ด
เมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรี กำลังขับเคลื่อนจะถูกส่งจากล้อที่หมุนเร็วกว่าไปยังล้อที่หมุนช้ากว่า
ทำให้ล้อที่หมุนฟรีอยู่ ลดกำลังขับเคลื่อนลง ขณะที่ล้ออีกข้างหนึ่งจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า
ทำให้สามารถพารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดยเทคนิคการออกแบบกลไกนี้จะมีการออกแบบมา-
หลายลักษณะ แต่โดยรวมจะให้มีการส่งกำลังขับมายังล้อที่อยู่ตรงข้ามกับล้อที่หมุนฟรี วิธีที่ใช้
และใช้มากกว่าวิธีอื่นคือ ใช้ความฝืดของแผ่นครัทซ์เปียก ซ้อนกันหลายแผ่นเป็นตัวควบคุม
กำลังขับเคลื่อนไปยังล้อทั้งคู่ โดยออกแบบกลไกภายในชุดตัวเรือนเฟืองดอกจอก
ให้มีชุดครัทซ์เป็นตัวส่งกำลังร่วมอยู่ที่ด้านหลัง เฟืองดอกจอกตัวใหญ่ หรือเฟืองหัวเพลาขับทั้ง2ข้าง
แทนที่จะส่งกันโดยตรงเพียงอย่างเดียว ในเฟืองท้ายปกติทั่วไป และมีกลไกที่ทำให้ครัทซ์จับตัว เช่น
ใช้สปริงกดเมื่อมีการลื่นไถลของล้อข้างใดข้างหนึ่งทำให้เกิดการส่งกำลังขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้งคู่
บางรุ่นก็ใช้แรงบิดจากระบบส่งกำลังมาทำให้ครัทซ์จำตัว หรือแบบสปริงกดกระทำกับเฟืองแบบจาน-
ประกบกันและสวมหัวเพลาขับ เมื่อมีการเลี้ยว หรือล้อทั้ง2ข้างหมุนไม่เท่ากัน เฟืองที่ประกบกันอยู่
ก็จะแยกออกจากกัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังจากการที่ร่องฟันเฟืองหมุนเสียดสีกัน ซึ่งแบบนี้
มีใช้มานานแล้วในรถบางประเภท
หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่อเฟืองท้ายตัวนี้กันมาเนิ่นนาน มาดูกันว่า การทำงานของมันเป็นยังไง
หน้าที่ของเฟืองท้ายเต็ด
ปกติถ้าขับรถไปในทางที่ลื่นมากๆ เช่น โคลนหรือติดหล่ม จะสังเกตุได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถ-
ขับเคลื่อนรถต่อไปได้ คือการหมุนล้อฟรีของล้อข้างหนึ่งที่ลอยอยู่ในอากาศหรือในหล่ม ขณะที่...
ล้อที่อยู่บนพื้นไม่มีกำลังที่จะพาตัวรถขับเคลื่อนไปได้ เพราะการทำงานของรถที่มีเฟืองท้ายธรรมดา
จะมีการแบ่งถ่ายกำลังด้วยชุดเฟืองดอกจอก ระหว่างเพลาขับด้านซ้ายและขวากับตัวเรือนเฟืองบายศรี
เพื่อทดรอบการหมุนล้อทั้ง 2 ข้าง สำหรับการเลี้ยว ซึ่งล้อจะหมุนไม่เท่ากัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
กับยางและชุดเพลาขับ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวกับรถประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อโดยเฉพาะ
ออฟโรด ที่ต้องปีนป่ายทางที่ผิวลื่นเป็นประจำจึงมีการออกแบบ เฟืองท้ายเต็ด (Limited Slip) โดยใช้-
เทคนิคในการจำกัดไม่ให้เกิดการสูญเสียกำลังขับของล้อเมื่อเกิดการลื่น หรือล้อหมุนฟรี ด้วยการใช้-
ความฝืดของแผ่นครัทซ์ หรือแรงกดจากการกดของสปริงและแรงหน่วงจากการทดเฟือง
แล้วแต่ว่าจะออกแบบมาแบบไหนมาเป็นตัวช่วยป้องกันการสูญเสียการขับเคลื่อน
หลักการทำงานของเฟืองเต็ด
เมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรี กำลังขับเคลื่อนจะถูกส่งจากล้อที่หมุนเร็วกว่าไปยังล้อที่หมุนช้ากว่า
ทำให้ล้อที่หมุนฟรีอยู่ ลดกำลังขับเคลื่อนลง ขณะที่ล้ออีกข้างหนึ่งจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า
ทำให้สามารถพารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดยเทคนิคการออกแบบกลไกนี้จะมีการออกแบบมา-
หลายลักษณะ แต่โดยรวมจะให้มีการส่งกำลังขับมายังล้อที่อยู่ตรงข้ามกับล้อที่หมุนฟรี วิธีที่ใช้
และใช้มากกว่าวิธีอื่นคือ ใช้ความฝืดของแผ่นครัทซ์เปียก ซ้อนกันหลายแผ่นเป็นตัวควบคุม
กำลังขับเคลื่อนไปยังล้อทั้งคู่ โดยออกแบบกลไกภายในชุดตัวเรือนเฟืองดอกจอก
ให้มีชุดครัทซ์เป็นตัวส่งกำลังร่วมอยู่ที่ด้านหลัง เฟืองดอกจอกตัวใหญ่ หรือเฟืองหัวเพลาขับทั้ง2ข้าง
แทนที่จะส่งกันโดยตรงเพียงอย่างเดียว ในเฟืองท้ายปกติทั่วไป และมีกลไกที่ทำให้ครัทซ์จับตัว เช่น
ใช้สปริงกดเมื่อมีการลื่นไถลของล้อข้างใดข้างหนึ่งทำให้เกิดการส่งกำลังขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้งคู่
บางรุ่นก็ใช้แรงบิดจากระบบส่งกำลังมาทำให้ครัทซ์จำตัว หรือแบบสปริงกดกระทำกับเฟืองแบบจาน-
ประกบกันและสวมหัวเพลาขับ เมื่อมีการเลี้ยว หรือล้อทั้ง2ข้างหมุนไม่เท่ากัน เฟืองที่ประกบกันอยู่
ก็จะแยกออกจากกัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังจากการที่ร่องฟันเฟืองหมุนเสียดสีกัน ซึ่งแบบนี้
มีใช้มานานแล้วในรถบางประเภท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)